วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

test

ทดสอบปลายภาค


             ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น 
 
1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า
"แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน 
                                           
 แท็บเล็ต" (Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมากขึ้น ล่าสุดนโยบายของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นั้น ได้นำ "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา" มาเป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา ทำให้แท็บเล็ตได้ก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย
              แท็บเล็ตมีข้อได้เปรียบกว่าโน้ตบุ๊ก เพราะใช้งานได้สะดวก ไม่มีแป้นพิมพ์ น้ำหนักเบา กินไฟน้อยกว่า ใช้หน้าจอแบบสัมผัส มีความคล่องตัว เพราะใช้กับโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นสำเร็จรูป แต่ป้อนข้อมูลได้ช้าถ้าจะใช้งานให้ดีต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายข้อมูลจากโลก อินเทอร์เน็ต อีกทั้งหน้าจอจะเสียหายได้ง่าย
แท็บเล็ต เป็นเครื่องมือให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและเร็วกว่าที่จะจดจำเอง รูปแบบการศึกษาที่ต้องเปลี่ยนจากการสอนเป็นการเรียนรู้และแสวงหาด้วยตนเอง เปลี่ยนจากเน้นเนื้อหาในกรอบหลักสูตรมาเป็นเน้นทักษะ
              แท็บเล็ตมี  2   ประเภท
                  แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC ) ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่จะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่จะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน Tablet PC จะมีอุปกรณ์ไร้สายสาหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน มีระบบปฏิบัติการทั้งที่เป็น Windows และ Android
ภาพ HP Compaq Tablet PC ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows
             แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet Computer / Tablet ) หรือที่เรียกชื่อสั้นๆว่าแท็บเล็ตคือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ขณะเคลื่อนที่ได้ มีขนาดกลางกะทัดรัดและใช้หน้าจอสัมผัสในการทางานเป็นลาดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริง หรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมไปถึงโน๊ตบุ๊คแบบ Convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดเสมือนจริงติดมาด้วย

              www.kan1.go.th/tablet-for-education.pdf
                     http://www.chusak.net/index.php?mo=3&art=41993028

2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
                          
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538)  ลาว (2540) พม่า (2540)  กัพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 600 ล้านคน   
     ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา คือ:
               1 ประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community– ASC)
               2 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community– AEC)
               3 ประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community- ASCC)
               ประโยชน์ที่ไทยได้รับคือ
              (ก) ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลก
              (ข) Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ
              (ค) มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น
              (ง) สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว
                  การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันใน
 ที่มา       :     http://www.chusak.net/index.php?mo=3&art=41977045
                      http://www.chusak.net/index.php?mo=3&art=42010878           

3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง

จากการที่ดิฉันได้อ่านบทความ ครูกับภาวะผู้นำ  ผศ.ดร.สมาน ฟูแสง คณะบดีคณะครุศาสตร์ ได้กล่าวถึงครูกับภาวะผู้นำว่า "การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน   เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน(นักศึกษา) ) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้ ผู้นำที่ดีจะทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงในด้านความศรัทธา ความไว้วางใจ สร้างแรงบันดาลใจ ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคลและครูควรมีความรู้ความสามารถที่ดี  และมีพฤติกรรมที่ดีในการที่จะให้นักเรียนเอาเป็นแบบอย่างได้   เช่น  หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน  อยู่กับปัจจุบัน  มีความทันสมัย   มีความรู้เกี่ยวกับเด็ก    เป็นแบบอย่างในการเป็นผู้นำที่จะทำให้เด็กกล้าแสดงออกในภาวะผู้นำ   เป็นต้น
                ที่มา: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/315219
 4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
    4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
    4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
    4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
    4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
    4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
    4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร

แสดงความคิดเห็น
สำหรับดิฉัน การเรียนวิชาการจัดการบริหารในชั้นเรียน เป็นเรียนโดยการใช้บล็อกซึ่งก็ไม่ได้เคยเรียนในวิชาไหนมาก่อนถือว่าเป็นการเรียน ที่แปลกใหม่   การเรียนรู้โดยการใช้บล็อกมีประโยชน์มากเพราะการใช้บล็อกในการทำงาน เป็นสิ่งที่ง่ายอยู่กับเราได้นานและมีประโยชน์กับตนเองทั้งปัจจุบันและใน อนาคต เพราะเราสามารถศึกษาค้นคว้าเมื่อไรก็ได้ สามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันเวลาเราไปฝึกสอนหรือว่าเรา ไปสอนจริงที่โรงเรียนสามารถนำไปสอนให้กับเด็กได้ และเวลานำเสนองานต่างๆก็สามารถนำเสนอได้ด้วยเมื่อเราทำงานแล้วยังไม่พอใจตรง ไหนก็สามารถแก้ไขใหม่อยู่ได้จนกว่าเราจะพอใจ และผู้อื่นสามารถเข้ามาดูความรู้ที่เราเขียนลงไปได้ด้วยซึ่งสามมารถถ่ายทอด ความรู้ให้กับผู้อื่นเราก็สามารถศึกษาหรือให้ข้อมูลผ่านทางบล็อกได้เลย ถ้าอนาคตมีการเรียนรู้โดยใช้บล็อกดิฉันคิดว่ามันคงดีมากและสะดวก สบายและในการใช้บล็อกมีประโยชน์ทั้งตัวเราและคนอื่น
             ส่วนในการพิจารณาในการได้คะแนนในวิชานี้เราต้องมีความพยายามมากเพราะในการทำงานแต่ละครั้งตนเองมีความพยายามมาก ในการเรียนแต่ละครั้งแบกโน๊ตบุคมาเรียนทุกครั้งและก็หนักมากด้วย และที่สำคัญโน้ตบุคของดิฉันแบตเสืยมต้องชาร์คทุกเวลา ทำงานทุกครั้งต้องให้งานออกมาดี หรือออกมาอย่างถูกต้องและสมบรูณ์  และในเวลาเรียนดิฉันเข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน แม้ว่าในบางครั้งจะเข้าเรียนสายบ้างก็ตาม  เพราะวิชานี้เป็นวิชาที่สำคัญกับตัวเราในอนาคต งานทุกชิ้นที่อาจารย์สั่งก็ต้องส่งให้ครบ ในความคิดเห็นของดิฉันในการทำงานบนบล็อกแต่ละครั้งมันก็มีอุปสรรคมากอยากทำ งานให้เสร็จแต่ดันไม่มีสัญญาณเน็ต ลำบากมากเลยเวลาสัญญาณเน็ตเข้าไม่ได้เพราะมันทำให้เราทำงานไม่ได้เพราะงาน ทุกชิ้นต้องใช้สัญญาณเน็ตในการทำงานบนบล็อก ถ้าถามว่าดิฉันอยากได้เกรดอะไรวิชานี้ดิฉันอยากได้ A เพราะ งานทุกชิ้นดิฉันตั้งใจทำมากและวิชานี้เป็นวิชาสำคัญมากสำหรับตัวดิฉันเอง วิชานี้สามารถทำให้ดิฉันเรียนรู้อะไรที่ดิฉันไม่เคยรู้แปลกใหม่ และทำบล็อกเป็นจากที่ไม่รู้จักมาก่อนว่าบล็อกมีหน้าตาเป็นอย่างไร ดิฉันดีใจที่มีบล็อกเป็นของตนเองถึงมันจะมีอุปสรรคในการทำงานในแต่ละครั้งก็ตาม


วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9

                                         การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน   


การสร้างบรรยากาศในการเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ คือ ต้องทำให้ผู้เรียน เรียนอย่างกระตือรือร้น (active learning) และตระหนักว่าตนกำลังเรียนอะไรอยู่ ครูจะสามารถสร้างบรรยากาศแบบนี้ได้จาก การจัดชั้นเรียน การสร้างแบบเรียนและกิจกรรมในห้องเรียน และการหาเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้พูดถึงสิ่งที่เรียนออกมาเพื่อจะ ได้รับรู้ว่าตัวเขาเองกำลังทำอะไรอยู่ (self - awareness) เช่น การเขียนไดอารี่ที่พูดถึงการเรียน ปัญหาที่พบ และสิ่งที่ได้เรียนการจัดชั้นเรียน ควรจะให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำงานกลุ่มเพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกับเพื่อน การสร้าง
แบบเรียนและกิจกรรมในห้องเรียน ควรจะให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรม เลือกการบ้าน และเลือกกลุ่มคนที่เขาอยากจะทำกิจกรรมในห้องเรียนด้วย ผู้เรียนควรจะรู้ว่าเขาถูกคาดหวังให้เรียนอะไรในวิชานั้น เพื่อจะได้รู้ว่าวิธีการเรียนที่เขาเรียนเหมาะสมหรือไม่ และเขาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้หรือไม่ ครูควรจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียนว่า เด็กในชั้นมีความสามารถ ความชอบ และมีแรงจูงใจในการเรียนแตกต่างกัน ถ้าหากกำหนดให้เด็กทำงานแบบเดียวกัน คนทุกคนจะเกิดการเรียนรู้ไม่เท่ากัน นอกจากนี้ครูควรจะให้ความสำคัญกับการสอนให้เด็กตระหนักว่าเขากำลังเรียนอะไร และเรียนอย่างไร
สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต (life-long learning)โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งครูเสมอไป ส่วนผู้เรียนเองจะเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ก็ต้องอยู่ที่ครูจะช่วยสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เหมาะสม

ความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน

          การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน   หมายถึง   การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวน  การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน

ความสำคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน

          บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิด ความสนใจในบทเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ที่ครูให้ความเอื้ออาทรต่อนักเรียน ที่นักเรียนกับนักเรียนมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันที่มีระเบียบ มีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มาโรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้ ก็นับว่าครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสม บรูณ์ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยแท้จริง ดังนั้น การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลได้ดังนี้
          1.ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจรเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
          2.ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว
          3.ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ
          4.ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน
          5.ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ
          6.ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
กล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนใน
ด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุด

บรรยากาศที่พึงปรารถนาในชั้นเรียน         
          ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต่างปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ความปรารถนานี้เป็นจริง พรรณี ชูทัย (2522 : 261 ? 263)
กล่าวถึงบรรยากาศในชั้นเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอน จัดแบ่งได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้
          1.บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge)   เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำ งาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ
          2.บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด
          3.บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง
          4.บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน   
          5.บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิ หน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต
          6.บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความ ล้มเหลว  เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้น
          บรรยากาศทั้ง 6 ลักษณะนี้ มีผลต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จของผู้เรียนผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียน

กิจกรรมที่ 8

                                                ครูมืออาชีพ

             ความเป็นมืออาชีพของครู จึงควรที่จะต้องยึดถือและปฏิบัติให้เกิดความ สัมพันธ์กับมาตรฐานของวิชาชีพครู ซึ่งมีความสำคัญและความจำเป็นต่อครูทุก คน ทั้งนี้เนื่องจากกระแสแห่งโลกาภิวัตน์  
ทำให้มีความจำเป็นที่บุคคลจักต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกระดับ ให้มีความสำนึกต่อบทบาทและภารกิจต่าง ๆ ที่มีต่อสังคมมากขึ้น

ครูมืออาชีพ จักต้องมีลักษณะพื้นฐาน 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
1.   ครูต้องมี ฉันทะ ต่ออาชีพครู เป็นพื้นฐาน
2.   ครูต้องมีความเมตตา ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน และ
3.   ครูต้องมีความเป็น กัลยาณมิตร พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ

                ครูมืออาชีพ จึงต้องมีความสามารถต่อไปนี้
                1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน
                2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและเป็นชั้น
                3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้
                4. พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ  บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน
                5. มีความรู้ที่ทันสมัย และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น
                6. เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล โรงเรียนและชุมชน
                7. กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน
                8. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้

การสอนที่ดีและมีคุณภาพย่อมต้องคำนึงถึงหลัก
สำคัญๆ 20 ประการ ดังนี้
 1.      ศึกษาหลักสูตรให้กระจ่าง                 2.      วางแผนการสอนอย่างดี
 3.      มีกิจกรรม/ทำอุปกรณ์                      4.      สอนจากง่ายไปหายาก
 5.      วิธีสอนหลากหลายชนิด                   6.      สอนให้คิดมากกว่าจำ
 7.      สอนให้ทำมากกว่าท่อง                    8.      แคล่วคล่องเรื่องสื่อสาร                                 9.      ต้องชำนาญการจูงใจ                      10.    อย่าลืมใช้จิตวิทยา
11.    ต้องพัฒนาอารมณ์ขัน                     12.    ต้องผูกพันห่วงหาศิษย์
13.    เฝ้าตามติดพฤติกรรม                      14.    อย่าทำตัวเป็นทรราช
15.    สร้างบรรยากาศไม่น่ากลัว                16.    ประพฤติตัวตามที่สอน
17.    อย่าตัดรอนกำลังใจ                        18.    ให้เทคนิคการประเมิน
19.    ผู้เรียนเพลินมีความสุข                    20.    ครูสนุกกับการเรียน