วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


   
 บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
                
             ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือ   ท่านทรงเป็นครูของแผนดิน เพราะท่านทรงสอนประชาชนของท่านในทุกๆเรื่อง  การเป็นครูนอกจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนแล้ว ต้องเป็นครูนอกชั้นเรียนด้วย   ครูจะต้องมีความรู้จะต้องรู้ลึก รู้จริง ในเรื่องนั้นๆ รู้จนกระจ่างแจ้ง  ความสามารถทั้งในด้านการสอน การจัดกิจกรรม  สอนให้รู้จักพฤติกรรมในการทำประโยชน์กับผู้อื่น สอนแล้วให้นักเรียนนำ ความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง  ครูต้องทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง การให้นักเรียนได้เห็นเนื้อหาของวิชาที่แท้จริง โดยการทำให้ดูรวมถึงการฝึกให้นักเรียนคิดด้วยตนเองคิดได้คิดเป็น นอกจากนี้การเป็นครูที่ดีจะต้องปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนด้วย รวมถึงเปิดใจกว้างยอมรับความรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เสมอ ฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความก้าวหน้า ให้ทันกับสภาพแวดล้อมเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป แต่ทั้งหมดนี้ต้องอยู่ในความพอดีและความพอเพียงด้วยเช่นกัน

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
          ในการเรียนการสอนนอกจากจะสอนวิชาสังคมศึกษาในชั้นเรียนแล้วต้องสอนวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย ต้องสอนให้นักเรียนรู้จริงในเรื่องนั้นๆ เราต้องฝึกให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง สอนนักเรียนให้ครบทุกๆด้าน ทั้งเนื้อหาในวิชาที่เรียน  เป็นตัวอย่างที่ดีให้นักเรียน ทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง  เราก็ต้องให้นักเรียนได้ลองปฏิบัติได้ด้วยตนเอง นำสิ่งที่ได้นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพได้

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
           1. จัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและมีความกระตือรือร้นในการเรียน
           2. ยอมรับความคิดเห็นของนักเรียน ไม่ยึดกับคำว่า ครูถูกเสมอ และยอมรับในความสามารถของผู้เรียนในการเรียนที่แตกต่างกัน
           3.นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการสอน เช่น สอนวิชาภูมิศาสตร์กายภาพ ก็จะใช้คอมพิวเตอร์ใช้ในการสอนโดยให้นักเรียนดูแผ่นที่ในอินเตอร์เน็ตจากปกติทั่วไปแผ่นที่เป็นกระดาษ


         วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์  THE STEVE JOBS WAY
         โดย คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

           สตีฟ จ๊อบส์ คือ คนที่การศึกษาอย่างเป็นทางการไม่สูงนักแต่ฉลาดและน่าสนใจ กว่าที่เขาจะประสบความสำเร็จเป็นสุดยอดอย่างนี้ก็ไม่ใช้เรื่องง่าย เขาต้องฝ่าฟันอุปสรรค และชะตาชีวิตของตัวเองอย่างมากมาย เขาไม่ใช่มนุษย์ต่างดาว และสิ่งที่เขาสร้างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากปาฏิหาริย์    แต่มาจากมันสมองอัญชาญฉลาดและสองมือของมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการฝึก ศึกษา พัฒนา และใช้ปัญญา”    จนทำให้เขากลายเป็นคนที่ มีความฉลาด ฉลาดในการวางแผน ฉลากในการเลือกเพื่อนร่วมงาน เขาสามารถคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่  เขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ พลิกโลกให้เปลี่ยนไป ดังที่รู้ว่า เขาและทีมงานเป็นผู้ผลิต ipad  iphone   ipoad และอื่นๆอีกมากมาย  ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
               เมื่อดิฉันเป็นครูผู้สอนจะนำความรู้ที่ได้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนโดยการให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นหลัก   มีการวางการสอนล่วงหน้า   จะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชาไม่หวังสิ่งตอบแทนจะเป็นที่ให้คำปรึกษาเวลานักเรียนมีปัญหาต่างๆทั้งในชั้นเรียนและนอกห้อง

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
         ในอนาคตดิฉันจะได้เป็นครูผู้สอน และดิฉันก็สามารถที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจอย่างแท้จริง  ในฐานะที่เป็นผู้สอนต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำผู้เรียนไปด้วย ครูต้องสอนให้ผู้เรียนได้รับความรู้จากผู้สอนโดยการให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ จากกิจกรรมที่ครูจัดให้ ไม่ใช่ครูบอกความรู้ หรือครูบอกความเข้าใจของครูให้กับผู้เรียน จากนั้น ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนสรุปความรู้ที่ได้รับเป็นองค์ความรู้เป็นความเข้าใจของตนเอง เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวของผู้เรียนได้นำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในสถานการณ์ ใหม่ ที่เป็นสถานการณ์ที่เป็นสภาพจริง สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันในปัจจุบันและในอนาคต

                   

      
         
                  
                   

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่7



1.สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน
สอนเรื่อง    แผ่นที่ การสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
ผู้สอนคือ    John  Lane
ระดับชั้น ประถมศีกษาปีที่ 5  โรงเรียนประถมดูเบนีย์  เขตแฮ็กนีย์ 
                   อีสต์ลอนดอน                                                                                                                                                                                                                                            
2 . เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
เนื้อหา ที่ใช้ในการสอนจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่ในท้องถิ่น จะทำให้นักเรียนมีส่วนร่วม รู้จักสถานที่ และรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนที่พวกเขาอยู่มากขึ้น ครูใช้สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเชื่อมโยงกับบทเรียนคือ ทักษะภูมิศาสตร์ เช่น การอ่านแผ่นที่ ทำทิศทาง บอกทิศทางขวาซ้าย  นอกจากนี้ครูได้สอนเรื่อง  คำสั่ง
ที่สอนในวิชา การอ่านเขียน และให้เด็กเรียนรู้จากหลักสูตรได้หลากหลายผ่านที่  ได้ฝึกทักษะหลายด้าน การเรียน การอ่านเขียน ผ่านการถาม คำถาม  การพูด  และการฟัง รวมถึง การเขียนตามคำบอก และวิธีการทำแผ่นที่ทั่วไป
จุดมุ่งหมาย คือ นักเรียนจะเข้าใจ แผ่นที่ดีขึ้นทั่งการอ่านแผ่นที่ และเข้าใจสถานที่หนึ่งๆ อาจปรากฏบนแผ่นได้หลากหลายรูปแบบ นักเรียนจะเข้าใจพื้นที่รอบๆตัวได้ดีขึ้น เช่น พื้นที่รอบโรงเรียน พื้นที่รอบบ้าน หรือพื้นที่ในบริเวณนั้น
           

3 . จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
จากที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น เกิดประโยชน์ในด้านการจัดกิจกรรมดังนี้
สติปัญญา = IQ.
ขณะ ลงมือปฏิบัติสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นนั้นนักเรียนได้ดูสิ่งที่ไม่ได้สังเกตมาก่อนเช่นชื่อถนนต่างๆ ป้ายสถานที่สำคัญต่างๆ   ได้ฝึกเรื่องทักษะการสื่อสารคือ การสะกดชื่อถนน รู้จักพื่นที่รอบๆในท้องถิ่นมากขึ้น และที่สำคัญได้ฝึกเรืองทิศทางมากขึ้นโดยไม่ลงขวาหรือซ้าย อีกทังยังนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่นๆ และสามารถเชื่อมโยงกับวิชาต่างๆได้ รวมกิจกรรมต่างๆในหลักสูตร ทำให้เด็กได้มีทักษะที่จำเป็น และนำทักษะที่หลากหลายไปใช้ภายนอกโรงเรียน
อารมร์= EQ.
ขณะ ลงมือปฏิบัติสำรวจสิ่งแวดล้อมนั้นนักเรียนมีความสุข และสนุกสนามที่ได้เรียนนอกห้องเรียนเพราะนักเรียนชอบเรียนนอกห้องมากว่านั่งในห้องเรียน  นักเรียนได้แรงบันดาลใจ จากประสบการณ์ตรงที่ได้ลงมือทำมากกว่าจากหนังสือ
คุณธรรมจริยธรรม=MQ.  
ขณะ ลงมือปฏิบัติสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นนั้นนักเรียน แบ่งปันความรู้นี้ให้กันและกัน มีส่วนร่วม ช่วยเหลือซึ่งกันและกันหมายถึงการมีน้ำใจและการเป็นมิตรที่ดีต่อกัน

4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
                บรรยากาศ ในห้องเรียนจะเป็นแบบสบายๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก มีหน้าต่างใช้ในการรับลม ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย  มีสีสันสบายตา มีนาฬิกาใช้บอกเวลาในการเรียน มีรูปภาพต่างๆติดตามผนังห้องซึ่งรูปเล่านั้นสามารถสร้างความรู้ให้กับนักเรียนได้อีกทาง มีชั้นหนังสืออยู่ภายในห้องเรียน   บรรยากาศจัดการในชั้นเรียนเป็นไปอย่างสนุกสนานเพลิดเพลินนักเรียนทุกคนสนุกมาก


กิจกรรมที่6



                                                         พระคุณครู

                                         ครู  คือผู้ให้ ผู้เติมเต็ม  และมีเมตตา

                                
                                 


วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่5




ประวัติส่วนตัว
ชื่อ                      นางนุชนารถ ลับโกษา
ตำแหน่งปัจจุบัน     ครูชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน        โรงเรียนบ้านคาละแมะ  
                           สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
เกิด                      วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2500
ภูมิลำเนา               เกิดที่บ้านเลข 29 หมูที่ 5 บ้านหนองจอก ตำบลคาละแมะ
                          อำเภอศีขรภูมิจังหวัดสุรินทร์
ภูมิลำเนาปัจจุบัน     86 หมู่ที่ 5 บ้านหนองจอก ตำบลคาละแมะ อำเภอศีขรภูมิ
                                  จังหวัดสุรินทร์
ประวัติการศึกษา
       1. การศึกษาชั้นประถมปีที่ 1 - 4 จากโรงเรียนบ้านหนองจอก ตำบลคาละแมะ อำเภอศีขรภูมิ
 จังหวัดสุรินทร์
        2. การศึกชั้นประถมปีที่ 5 – 7 จากโรงเรียนบ้านหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
        3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 จากโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ
จังหวัดสุรินทร์
       4. การศึกษาระดับ ปวช. จากโรงเรียนเสาวภาผ่องศรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2521
       5. การศึกระดับอนุปริญญา เอกออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม วิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พ.ศ. 2539
       6. ระดับปริญญาตรี เอกการประศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พ.ศ. 2550
ประวัติการทำงาน
       เริ่ม รับราชการครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 ในตำแหน่ง ครู 1 โรงเรียนบ้านผางอุดมสมบูรณ์วิทยา ตำบลขามเดื่อ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ และย้ายมาที่โรงเรียนบ้านคาละแมะ ตำบลคาละแมะ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 1 สิงหาคม 2527ในตำแหน่ง ครู 1 ระดับ 2 และในปัจจุบันตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านคาละแมะ ตำบลคาละ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
ผลงานของครู
      1.เป็นครูดีเด่นและครูแกนนำระดับอำเภอ แข่งความเลิศระดับ CEO ศีขรภูมิ 3 การท่องบทอาขยานนักเรียนช่วงชั้นที่ 1ได้ชนะเลิศอันดับ 1
      2. เป็นเจ้าหน้าอาหารกลางวันในโรงเรียนมีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน ซื้ออาหารกลางวัน ดำเนินการโดยการจัดเป็นเวรให้ครูทุกคนในโรงเรียนรับผิดชอบซื้ออาหารสด แห้งเป็นรายวัน
      3. การบริการชุมชนในเขตบริการโรงเรียนมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์ส่งข่าวสารเกี่ยว กับกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนดำเนินการในโรงเรียนให้ผู้ปกครองทราบและประสานขอ ความร่วมมือจากผู้ปกครองในการดำเนินงานในโรงเรียนที่เอื้อประโยชน์แก่นัก เรียนเป็นการสร้างความสมานสามัคคีระหว่างชุมชนกับโรงเรียน
     4. ผู้คิดโครงการออมทรัพย์ของนักเรียน ดำเนินการโดยให้นักเรียนทุกคนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่3มี การออมทรัพย์ โดยให้ครูประจำชั้นเป็นผู้รับผิดชอบ
     5. เป็นกรรมการสอบแข่งขันความเป็นเลิศระดับ CEO มีหน้าที่ควบคุมดูแลและดำเนินการสอบแข่งขันด้วยความเรียบร้อย และเป็นกรรมการแข่งขันความเป็นเลิศด้านวิชาการระดับเขต ในปีการศึกษา 2550

นักเรียนประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
           
       เราสามารถนำแนวการสอนของครู  มาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการสอนในอนาคตได้ เพราะครูเป็นครูที่ขยัน  จึงเป็นครูดีที่นักเรียนรักและเป็นที่รักของผู้ปกครอง เป็นครูที่มีความรู้ทั้งด้านวิชาการ และมีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นครูดีเด่น