วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


   
 บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
                
             ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือ   ท่านทรงเป็นครูของแผนดิน เพราะท่านทรงสอนประชาชนของท่านในทุกๆเรื่อง  การเป็นครูนอกจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนแล้ว ต้องเป็นครูนอกชั้นเรียนด้วย   ครูจะต้องมีความรู้จะต้องรู้ลึก รู้จริง ในเรื่องนั้นๆ รู้จนกระจ่างแจ้ง  ความสามารถทั้งในด้านการสอน การจัดกิจกรรม  สอนให้รู้จักพฤติกรรมในการทำประโยชน์กับผู้อื่น สอนแล้วให้นักเรียนนำ ความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง  ครูต้องทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง การให้นักเรียนได้เห็นเนื้อหาของวิชาที่แท้จริง โดยการทำให้ดูรวมถึงการฝึกให้นักเรียนคิดด้วยตนเองคิดได้คิดเป็น นอกจากนี้การเป็นครูที่ดีจะต้องปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนด้วย รวมถึงเปิดใจกว้างยอมรับความรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เสมอ ฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความก้าวหน้า ให้ทันกับสภาพแวดล้อมเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป แต่ทั้งหมดนี้ต้องอยู่ในความพอดีและความพอเพียงด้วยเช่นกัน

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
          ในการเรียนการสอนนอกจากจะสอนวิชาสังคมศึกษาในชั้นเรียนแล้วต้องสอนวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย ต้องสอนให้นักเรียนรู้จริงในเรื่องนั้นๆ เราต้องฝึกให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง สอนนักเรียนให้ครบทุกๆด้าน ทั้งเนื้อหาในวิชาที่เรียน  เป็นตัวอย่างที่ดีให้นักเรียน ทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง  เราก็ต้องให้นักเรียนได้ลองปฏิบัติได้ด้วยตนเอง นำสิ่งที่ได้นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพได้

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
           1. จัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและมีความกระตือรือร้นในการเรียน
           2. ยอมรับความคิดเห็นของนักเรียน ไม่ยึดกับคำว่า ครูถูกเสมอ และยอมรับในความสามารถของผู้เรียนในการเรียนที่แตกต่างกัน
           3.นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการสอน เช่น สอนวิชาภูมิศาสตร์กายภาพ ก็จะใช้คอมพิวเตอร์ใช้ในการสอนโดยให้นักเรียนดูแผ่นที่ในอินเตอร์เน็ตจากปกติทั่วไปแผ่นที่เป็นกระดาษ


         วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์  THE STEVE JOBS WAY
         โดย คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

           สตีฟ จ๊อบส์ คือ คนที่การศึกษาอย่างเป็นทางการไม่สูงนักแต่ฉลาดและน่าสนใจ กว่าที่เขาจะประสบความสำเร็จเป็นสุดยอดอย่างนี้ก็ไม่ใช้เรื่องง่าย เขาต้องฝ่าฟันอุปสรรค และชะตาชีวิตของตัวเองอย่างมากมาย เขาไม่ใช่มนุษย์ต่างดาว และสิ่งที่เขาสร้างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากปาฏิหาริย์    แต่มาจากมันสมองอัญชาญฉลาดและสองมือของมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการฝึก ศึกษา พัฒนา และใช้ปัญญา”    จนทำให้เขากลายเป็นคนที่ มีความฉลาด ฉลาดในการวางแผน ฉลากในการเลือกเพื่อนร่วมงาน เขาสามารถคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่  เขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ พลิกโลกให้เปลี่ยนไป ดังที่รู้ว่า เขาและทีมงานเป็นผู้ผลิต ipad  iphone   ipoad และอื่นๆอีกมากมาย  ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
               เมื่อดิฉันเป็นครูผู้สอนจะนำความรู้ที่ได้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนโดยการให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นหลัก   มีการวางการสอนล่วงหน้า   จะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชาไม่หวังสิ่งตอบแทนจะเป็นที่ให้คำปรึกษาเวลานักเรียนมีปัญหาต่างๆทั้งในชั้นเรียนและนอกห้อง

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
         ในอนาคตดิฉันจะได้เป็นครูผู้สอน และดิฉันก็สามารถที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจอย่างแท้จริง  ในฐานะที่เป็นผู้สอนต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำผู้เรียนไปด้วย ครูต้องสอนให้ผู้เรียนได้รับความรู้จากผู้สอนโดยการให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ จากกิจกรรมที่ครูจัดให้ ไม่ใช่ครูบอกความรู้ หรือครูบอกความเข้าใจของครูให้กับผู้เรียน จากนั้น ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนสรุปความรู้ที่ได้รับเป็นองค์ความรู้เป็นความเข้าใจของตนเอง เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวของผู้เรียนได้นำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในสถานการณ์ ใหม่ ที่เป็นสถานการณ์ที่เป็นสภาพจริง สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันในปัจจุบันและในอนาคต

                   

      
         
                  
                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น